กล้วย นับว่าเป็นพืชที่ได้ระความนิยมทั่วโลก และเป็นพืชที่ทนทานต่อโรคได้ระดับหนึ่ง สามารถเติบโตได้เองภายในป่า และมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็มีโรคและแมลงที่สามารถทำให้กล้วยเกิดความเสียหายได้ ปัจจุบันกล้วยถูกพัฒนาสายธุ์ให้มีภูมิต้านทานต่อโรคมากขึ้น แต่ก็ยังมีโรคและแมลงที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับต้นกล้วยได้
โรค
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
ลักษณะอาการ
เชื้อราเข้าทำลายผลดิบ จะแสดงอาการเน่าดำเริ่มจากก้นผล และลุกลามไปยังขั้วผล ทำให้ผลเน่าฝ่อหรือแห้งตายคาเครือ หรืออาจเข้าทำลายที่หวีจะทำให้ผลเน่าดำและหลุดร่วงง่าย หรือเชื้อราเข้าทำลายผลสุกหลังจากการเก็บเกี่ยว จะแสดงอาการจุดสีน้ำตาลและขยายวงกล้างเมื่อกล้วยสุกงอม ทำให้ผลเน่า
การแพร่ระบาด
เชื้อราจะเข้าทำลายผลกล้วย เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะพักตัวที่ผิวของผลกล้วย เจริญเติบโตได้รวดเร็วเมื่อผลกล้วยเริ่มสุก ในสภาพอากาศร้อนชื้น จะช่วยให้เชื้อโรคเจริญเติมโตได้อย่างรวดเร็ว
การป้องกัน
ตัดใบที่เป็นโรคแล้วเผาทำลาย จากนั้นให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือจะใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม ในขณะที่ผลกล้วยกำลังพัฒนา
สาเหตุ: เชื้อรา Colletotrichum musae
โรคใบจุด (Banana freckle)
สักษณะอาการ
ใบจุดสีเหลือง จะมีลักษณะเป็นกลมรียาวไปตามเส้นใบ เป็นจุดซีดมีขอบสีเข้ม หรือดำกลางจุด คล้ายกับลูกตา ขอบใบจะแห้งและฉีดขาด ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ มักจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนชื้น พบมากในสวนที่มีความชื้นสูง
การพร่ระบาด
เชื้อราจะสร้างสปอร์บนใบที่เป็นโรค สปอร์สามารถลอยไปตามลมและฝนได้ ในสภาพอากาศร้อนชื้น จะช่วยให้เชื้อราแพร่ระบาดได้ดี
การป้องกัน
ตัดใบที่เป็นโรคแล้วเผาทำลาย จากนั้นให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา หรือจะใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซปคาร์เบนดาซิม และเบนโนมิล
สาเหตุ: Pseudocercospora musae, Pseudocercospora fijiensis Morelet
โรคตายพราย (Panama disease หรือ Fusarium wilt)
ลักษณะอาการ
มักกะเกิดในต้นกล้วยที่มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป สังเกตุได้จากสีเหลืองอ่อนตามก้านและใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้ หรือตายนึ่ง และบิดเป็นคลื่น ใบจะพับหักบริเวณโคนก้าน
การแพร่ระบาด
เชื้อราจะแพร่ระบาดผ่านดิน เข้าทำรายทางรากกล้วยโดยตรง หากรากมีแผลที่อาจเกิดจากไส้เดือนหรือการขุด เชื้อราจะเจริญเติบโตเข้าสู่ลำต้นผ่านรากที่มีบาดแผล จากนั้นเชื้อราจะเข้าทำลายระบบท่อน้ำเลี้ยงและท่ออาหารของต้นกล้วย
การป้องกัน
ก่อนปลูกหรือหลังปลูกต้นกล้วย ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาราดบริเวณพื้นดินประเวณรอบๆและราก ควรตัดแต่งใบอยู่เป็นประจำเพื่อให้แดดส่องถึง ไม่ควรให้เกิดน้ำขังและแฉะบริเวณรอบๆลำต้น
สาเหตุ: เชื้อรา F.oxysporum schlecht. f.sp. Cubense
แมลง
ด้วงวงไชเหง้า
ลักษณะการเข้าทำลาย
หนอนด้วง จะกัดกินชอนไชภายในเหง้ากล้วย ส่วนมากจะอยู่ใต้ดินจนถึงโคนต้น ส่งผลให้ระบบการส่งน้ำและอาหารจากพื้นดินเกิดการชะงัก สามารถเกิดได้ทุกระยะ ตั้งแต่หนอไปจนถึงต้นแก่
การป้องกันและกำจัด
ทำความสะอาดแปลงเพาะปลูก ทำกองล่อแมลงโดยการตัดกล้วยเป็นท่อๆแล้ววางสุมเป็นกองไว้ เพื่อล่อแมลงมาวางไข่ ประมาณ 7 วัน ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแมลง ให้ทำลายโดยการหยิบออก หรือใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น เช่น เฮ็พตาคลอร์ (ผสมตามฉลาก) ราดโคนต้นและบริเวณดิน
ด้วงแรด
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวหนอน จะไซทำลายต้นที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป จนถึงกลางลำต้น มักจะชอนไขเข้าไปถึงกลางลำต้น จะมองเห็นได้ชัดจากภายนอกว่า มักจะมีรุพรุนไปทั่วรอบๆต้นกล้วย มักจะทำลายต้นที่โตแล้ว
มวนร่างแห
ลักษณะการเข้าทำลาย
มันจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบกล้วย ทำให้ใบค่อยๆเหี่ยว เหลืองซีด เพราะไม่ได้รับสารอาหาร สามารถตรวจดูได้จากใต้ใบ จะเห็นเป็นจุดดำๆ นั่นคือ ขี้ของมวนร่างแหที่ขับถ่ายไว้
ด้วงเต่าแดง
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวแก่ของด้วงเต่าแดง มักจะชอบกัดกินใบตองยอดอ่อนที่ม้วนอยู่ หรือใบคลี่ออกใหม่ๆ ทำให้ใบมีรอยตำหนิเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ จะสังเกตุได้ชัดเมื่อใบคลี่ออกตอนเขียวแล้ว
หนอนปลอก
ลักษณะการเข้าทำลาย
ตัวหนอนชอบกัดกินใบเอามาทำปลอกหุ้มตัว มักเกาะหอยท้ายปลอกลง ชอบกัดกินอยู่ใต้ใบและทำลายใบโดยการกัดกินใบจนแหว่ง
หนอนม้วนใบ
ลักษณะการเข้าทำลาย
หนอนม้วนใบหรือ ผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่เป็นจำนวนมากในใบที่ยังไม่คลี่ออก และจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน เติบโตอยู่ในใบอ่อน และจะกัดกินใบจนแหว่ง เป็นรูพรุน